วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


                1. ยุคกลาง (Middle Ages)
                       ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล  (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้
                        vocal  polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน    ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็น
                       เพลงแบบมีทำนองเดียว  (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ 
                       ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4  เพลงร้องพบได้ทั่วไป    และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี  
                       รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี


2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period)
     เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว .. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony)
ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนว ทำนองเดียวกัน (Imitative style)
ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบ โหมด (Modes) ยังไม่นิยมแบบ บันไดเสียง (Scales)  การประสานเสียง
เกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน  มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ด ลักษณะของจังหวะ
มีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะ  และไม่มีอัตราจังหวะ  ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย   ยังมีน้อย
ไม่ค่อยพบลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกัน ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี  เริ่มมี
การผสมวงเล็กๆ เกิดขึ้น  นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน-เดอส์  เพรซ์  ปาเลสตรินา  และเบิร์ด

3. ยุคบาโรค (Baroque Period)  
      เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว .. 1600-1750) การสอดประสาน   เป็นลักษณะ
ที่พบได้เสมอในปลายยุค    ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะ การใส่เสียงประสาน (Homophony)  เริ่มนิยม
การใช้เสียงเมเจอร์   และไมเนอร์   แทนการใช้โหมดต่างๆ  การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ  
มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter)  อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลง  การใช้ลักษณะของเสียง
เกี่ยวกับความดังค่อย   เป็นลักษณะของความดัง-ค่อย   มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ
ดังขึ้นหรือค่อยๆลง  (Crescendo, diminuendo)  ไม่มีลักษณะของความ ดังค่อยอย่างมาก
(Fortissimo,pianisso)  บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น   บทเพลงร้องยังคงมี
อยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน   นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น
(Concerto grosso)   นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี  คอเรลลี วิวัลดี  บาค ฮันเดล

4. ยุคคลาสสิค (Classical period)
      เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก   อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18  และช่วงต้น
ศตวรรษที่ 19 (.. 1750-1825)การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้ การสอดประสาน
พบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสานการใช้บันไดเสียงเมเจอร์   และไมเนอร์    เป็นหลัก
ในการประพันธ์เพลง  ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผน  บริสุทธิ์  มีการใช้ลักษณะของเสียง
เกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน ไม่มี
การแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด   การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น  
การบรรเลงโดยใช้วงและ การเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว ( Concerto)  เป็นลักษณะที่
นิยมในยุคนี้   บทเพลลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับ เพลงเดี่ยว (Sonata)  
ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมาก  บทเพลงร้องมี
ลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้น  เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี    นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้
คือ กลุค  ไฮเดิน  โมทซาร์ท  และเบโธเฟน

5. ยุคโรแมนติด(Romantic period)
       เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว .. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้
 คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก   ฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมี
หลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียด   โดยการพัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก  หลักการใช้
บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์   ยังเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้น
หลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง   
การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้    บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้น   เนื่องจาก
มีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรี   มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดง
ออกทางอารมณ์   ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมาก    วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุค
คลาสสิค  บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไปเพลงซศิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิก   ยังคงเป็นรูปแบบ
ที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆ เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น   นักดนตรีที่ควรรู้จักใน
ยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก  เช่น  เบโธเฟน  ชูเบิร์ต  โชแปง  ลิสซท์  เมนเดลซอน  เบร์ลิโอส  ชูมานน์  
แวร์ดี   บราหมส์   ไชคอฟสี  ริมสกี-คอร์สคอฟ  รัคมานินอฟ  ปุกซินี  วากเนอร์  กรีก   ริชาร์ด  สเตราห์ 
มาห์เลอร์และซิเบลุส  เป็นต้น

6.ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค  (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
     เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง .. 1890 – 1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ   ใช้บันไดเสียง
แบบเสียงเต็ม  ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับ   คลุมเครือไม่กระจ่างชัด  เนื่องมาจากการประสานเสียง
โดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม   บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ   เสียงไม่หนักแน่น  ดังเช่น  
เพลงในยุคโรแมนติก     การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์    ในยุคก่อนๆ สามารถพบการ
ประสานเสียงแปลกๆไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม รูปแบบของเลงเป็นรูปแบบ
ง่าย  มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด  นักดนตรีที่ควรรู้จัก   คือ  เดอบูสซี   ราเวล  และเดลิอุส

7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period)
ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ  และนำเอาหลักการเก่าๆ
มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน   เช่น  หลักการ
เคาเตอร์พอยต์   (Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน   มีการใช้
ประสานเสียงโดย     การใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลัก
ในการแต่งทำนองหรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง(Twelve-tone scale)
ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา    ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ 
การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance)  วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบ
เชมเบอร์มิวสิก    ไม่นิยมวงออร์เคสตรา   มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์    ทำให้เกิดเสียงดนตรี
ซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป    เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น  ในขณะ
ที่แนวคิดแบบโรแมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน   เรียกว่า  นีโอโรแมนติก (Neo-Romantic)
กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20  นี้มีหลากหลายมาก    สามารถพบสิ่ง
ต่างๆตั้งแต่ยุค ต่างๆมาที่ผ่านมา    แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป   นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้
คือ สตราวินสกี   โชนเบิร์ก   บาร์ตอก   เบอร์ก   ไอฟส์   คอปแลนด์  ชอสตาโกวิช   โปโกเฟียฟ 
ฮินเดมิธ  เคจ  เป็นต้น


               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น