วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฮือฮา สหรัฐระเบิดสะพานแขวนเก่าแก่ข้ามแม่น้ำโอไฮโอหายไปในพริบตา

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 23 ก.พ.ว่า ทางการรัฐโอไฮโอของสหรัฐ ได้ระเบิดสะพานแขวนข้ามแม่น้ำของรัฐที่เก่าแก่มีอายุ 83 ปี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยใช้เวลาทำลายเพียง 6 วินาที ด้วยระเบิดรวมน้ำหนัก 153 ปอนด์ กินระยะทางยาว 500 หลา


สะพานแขวนแห่งนี้ได้เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1929 เชื่อมสามเมืองของสหรัฐ และเคยเป็นสะพานของเอกชน แต่ต่อมาเป็นของรัฐและเป็นเส้นทางจราจรทางหลวง แต่เนื่องจากอายุของสะพานที่เก่าแก่ และขนาดของสะพานที่แคบเล็ก ทำให้การใช้สะพานแห่งนี้ลดลง และในปี 2009 ต้องปิดใช้อย่างเป็นทางการ และทางการรัฐโอไฮโอเห็นสมควรว่า ควรทำลายสะพานแห่งนี้ก่อนจะทรุดตัวลง เนื่องจากปัจจุบันสะพานอยุู่ในสภาพข้อต่อทรุด ซึ่งไม่สามารถจะแก้ไขปรับปรุงได้

รายงานระบุว่า เหตุการณ์ระเบิดสะพานนี้ มีชาวบ้านรวมตัวชมกว่า 200 คน ท่ามกลางปฎิกิริยาคละเคล้า ทั้งตื่นเต้นกับภาพสะพานถูกระเบิดหายไปในพริบตา และเสียใจกับชะตากรรมของสัญญลักษณ์สำคัญของเมืองโอไฮโอ ที่ต้องถูกทำลาย





สะพานฟอร์ต สติวเบน


สะพานฟอร์ต สติวเบน


สะพานฟอร์ต สติวเบน 


สะพานฟอร์ต สติวเบน

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติวันวาเลนไทน์#1
          กำเนิดวันวาเลนไทน์ เทศกาลวาเลนไทน์ เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ยุคที่จักรวรรดิโรมัน
   เรืองอำนาจในยุคนั้น  วันที่  14  กุมภาพันธ์ของทุกปี  ถูกจัดให้เป็นวันหยุด  เพื่อ
   เป็นเกียรติ   แต่เทพเจ้าจูโน่ผู้เป็นจักรพรรดินี  แห่งเทพเจ้าโรมัน  นอกจากนี้แล้ว
   พระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้า  แห่งอิสตรีเพศ และการแต่งงาน  และในวันถัดมา คือ
   วันที่  15  กุมภาพันธ์  เป็นวันเริ่มต้นเทศกาล  เฉลิมฉลองแห่งลูเพอร์คาร์เลีย  การ
   ดำเนินชีวิตของหนุ่มสาว  จะถูกตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง    อย่างไรก็ตาม
   มีขนบธรรมเนียมอย่างหนึ่งของชายหนุ่มก็คือการจับฉลาก ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 
   ก่อนที่จะเริ่มต้นเทศกาลลูเพอร์คาร์เลีย ชื่อของเด็กสาวจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษ
   และใส่ลงในไห  ชายหนุ่มแต่ละคนจะจับฉลากเพื่อเลือกคู่  ในเทศกาลเฉลิมฉลองนี้ 
   บ่อยครั้งที่หนุ่มสาวต่างถูกใจกัน   และแต่งงานกันในเวลาต่อมา     ในรัชสมัยของ
   จักรพรรดิคลอดิอัสที่  2  แห่งโรม  พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้าย และทรง
   นิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์
   จะเข้าร่วมในกองทัพ เนื่องมาจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไปจึงทรงมีพระราช
   โองการสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาดทำให้ประชาชน
   ทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง ขณะนั้นเองพระรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ซึ่งอาศัยอยู่ในโทรม 
   ได้ร่วมมือกับเซนต์มาริอัส จัดพิธีแต่งงานให้กับชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา
   ดีของท่านนี้เอง จึงทำให้ท่านถูกตัดสินประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในวันที่ 14 
   กุมภาพันธ์  ค.ศ. 270   ซึ่งตรงกับเทศกาล  ลูเพอร์คาร์เลีย    ตามประเพณีโบราณพอดี 
   ณ โอกาสนี้เอง กลุ่มคนนอกศาสนาได้รื้อฟื้นประเพณีจับฉลากขึ้นมาใหม่ โดยชายหนุ่ม
   จะเป็นผู้เขียนชื่อหญิงสาวลงไปด้วยตัวเองต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้
   วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรัก และดูเหมือนว่ายังคงเป็น
   ธรรมเนียม ที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจน
   ถึงทุกวันนี้
ประวัติวันวาเลนไทน์#2
         วาเลนไทน์ (Valentine) คือวันที่ระลึกถึง นักบุญเซนต์วาเลนไทน์ (Saint Valentine) 
    ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา ความรัก และความปรารถนาดี ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง แต่
    สุดท้ายเขาต้องจบชีวิตลงด้วยการรับโทษประหาร  ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 
    หรือเมื่อประมาณ 1,728  ปีล่วงเลยมาแล้ว  ซึ่งเป็นยุคสมัยของจักรวรรดิโรมันที่ศาสนา
    คริสต์ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ซํ้าร้ายภายใต้การปกครองของกษัตริย์ "คลอดิอุสที่ 2" ผู้ออก
    กฎหมายบีบบังคับให้ประชาชนเลิกนับถือ และห้ามให้มีแต่งงานของพวกคริสเตียนเกิดขึ้น
    แต่ยังคงมีผู้นำคริสเตียนคนหนึ่งชื่อ  "วาเลนตินัส"  หรือที่ได้รับการยกย่องเป็น 
    เซนต์วาเลนไทน์ ในภายหลัง คอยลักลอบแอบจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักคริสเตียนจน
    ถูกจับขังและรับโทษทรมานแสนสาหัสอยู่ในคุกในขณะที่ถูกคุมขังนั้น เขาก็พบรักกับสาว
    ตาบอด ซึ่งเธอเป็นลูกสาวของผู้คุมในคุก ด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้า
    ได้ทรงโปรดให้ตาของสาวคนรักหายเป็นปกติ เมื่อความนี้ล่วงรู้ถึงหูกษัตริย์คลอดิอุสที่ 2 
    พระองค์จึงสั่งให้ลงโทษ วาเลนตินัส ด้วยการโบยและนำไปประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ 
    ในคืนสุดท้ายก่อนที่เขาจะถูกนำไปประหารนั้น ได้เขียนจดหมายสั้น ๆ เป็นการอำลาส่งไป
    ให้หญิงคนรักของเขา โดยลงท้ายในจดหมายว่า"...จากวาเลนไทน์ของเธอ
    (Love From Your Valentine)"
    ต่อมาเมื่อคนทั่วไปทราบเรื่องราวจึงเกิดความประทับใจในความรักของเขา ยึดถือเอา
    วันที่14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันแห่งความรัก" Saint Valentine's Day หรือ 
    Valentine'sDay และได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรป อเมริกา รวมทั้งในทวีปเอเชียด้วย
ของขวัญวันวาเลนไทน์ ของขวัญที่นิยม ของขวัญแทนใจวันแห่งความรัก
ดอกไม้ ให้ความหมายของการบอกรักได้ดีที่สุด ที่ฮิตสุดเห็นจะเป็น
- กุหลาบแดง หมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ

 เป็นสิ่งนำโชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับ
- กุหลาบขาว หมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ ความเงียบสงบ และนำ
โชคมาสู่ผู้หญิงที่ได้รับเช่นเดียวกับดอกกุหลาบแดง
- กุหลาบสีชมพู หมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์ที่สุด
- กุหลาบสีเหลืองหรือสีส้ม หมายถึง ความรักร้อนแรงและยาวนาน ไม่จืดจาง

 หวานชื่น และมีความสุข
- กุหลาบตูม หมายถึง ความรักและความเยาว์วัย
- กุหลาบบาน หมายถึง ความรักที่กำลังเบ่งบาน ความอ่อนหวาน สดชื่น 


สําหรับคนที่อยากได้อะไรแตกต่างยังมีดอกอื่นๆ อาทิ
- ดอกคาร์เนชั่นสีแดง หมายถึง รักอย่างสุดซึ้ง,
- ดอกลิลลี่สีขาว หมายถึง ความโรแมนติก อ่อนหวานระหว่างคุณและคนรัก,
- ดอกทิวลิปสีแแดง หมายถึง ความรักที่จะร่วมฟันฝ่าไปด้วยกัน
และ
- ดอกไวโอเล็ต ที่แทนความหมายของการให้รักตอบแทน
ช็อกโกแลต 
นักจิตวิทยาหลายคนเชื่อว่า ช็อกโกแลตเป็นตัวช่วยเสริมอารมณ์รัก 
และรสชาติความหวานก็เป็นสิ่งที่แทนความรู้สึกวันแห่งความรักได้
อย่างดี และยังมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าในช็อกโกแลตมีสาร
ช่วยกระตุ้นสมองโดยออกฤทธิ์คล้าย แอมเฟตามีน เป็นตัวเบิก
ทางความรู้สึกลึกๆแห่งรักได้ดี
การ์ด อันนี้เป็นของจําเป็นควบคู่ไปกับดอกไม้ และช็อกโกแลต เลือกตาม
แบบที่ชอบ เขียนความในใจตามแบบที่อยากให้คนที่ได้รับอ่านแล้วเข้าใจ
ในทันที แถมหาซื้อไม่ยากด้วย
ตุ๊กตา เป็นสิ่งที่ให้กันได้ทุกเทศกาลอยู่แล้ว แต่พิเศษสําหรับวันแห่งความรัก
คงต้องเลือกสรรให้น่ารัก น่าประทับใจแทนความหมายได้ทุกอารมณ์แล้วแต่
คุณจะหยิบแบบไหน
เทียนหอม มาแรงในหมู่หนุ่มสาวชาวไทย ที่สื่อได้ทั้งความหมายจากรูป
ทรงหัวใจ และให้กลิ่นหอมชวนหลงใหลตามแต่ใครจะเลือกได้ถูกใจอีกฝ่าย
แค่ไหน

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อึ้ง!! เดี๋ยวนี้เค้ากิน "เด็กทารก" กันแล้ว

 
ในบรรดานักการค้า ณ จังหวัดกวางตง กำลังลือกันอย่างหนักเกี่ยวกับสูตรบำรุงร่างกาย --- น้ำแกงเด็กทารก จ่ายราคา 3,400 เหรียญ (renminbi) ก็สามารถรับประทานน้ำแกง ที่ใช้เด็กในครรภ์ ซึ่งโตเพียงแค่ 6-7 เดือน หนึ่งหม้อ นักการค้านั้นบอกว่า น้ำแกงนี้เป็นยาดีสำหรับการปลุกเซ็กซ์ของผู้ชาย
1นักการค้าที่ตงกว่านแซ่หวังบอกว่า ตนนั้นเป็นขาประจำของน้ำแกงนั้น 'เด็กทารกที่โตแค่ไม่กี่เดือน ต้มกับยาสมุนไพรจีนบางชนิด และเนื้อไก่กระดูกหมู ตันแปดชั่วโมง สามารถบำรุงเลือดลมได้ดี' เขาพูดอย่างมีความมั่นใจขณะที่กำลังโอบกอดเมียน้อยวัย 19 ปีที่มาจากหูหนัน 'คนวัย 62 อย่างฉัน สามารถทำได้คืนละครั้ง (เรื่องบนเตียง) ก็เพราะน้ำแกงนี้แหละ' เขาเห็นนักข่าวทำหน้างงงัน จึงรับอาสาพานักข่าวไปเปิดหูเปิดตา
ป้ายแรกที่ไป เขาพานักข่าวไปที่เมืองฝอซัน ณ กวางตง หาร้านที่กินน้ำแกงนี้ประจำ แต่คาดไม่ถึงว่ากุ๊กของร้านนามสกุลหลีจะบอกว่า 'ตอนนี้ไม่มีกระดูกหมู (หมายถึงเด็กในครรภ์) เลย แย่มาก มีแต่รกในครรภ์ที่มีสดๆ ของอย่างนี้ไม่ควรแช่แข็ง สดๆ จะดีกว่า'
พ่อครัวหลีบอกว่า หากอยากจะกินน้ำแกงนั้นจริงๆ 'มีพนักงานผัวเมียจากต่างแดนมาทำงานอยู่ กำลังท้องได้แปดเดือน เนื่องจากว่าสองท้องแรกก็เป็นลูกสาว กำลังเตรียมใช้น้ำเกลือเร่งคลอด ถ้าได้ลูกสาวอีก ถึงเวลานั้นก็นำมาปรุงกินได้'
1นักข่าวยังคงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ติดตามทำข่าวอยู่หลายสัปดาห์ ก็มีแต่ฟังเขามา ยังไม่ได้เห็นกับตา นึกว่าจะจบอยู่แค่นี้ ที่ไหนได้ ผ่านไปไม่กี่วัน พ่อค้าหวังก็โทรมา 'ได้ของแล้ว อากาศกำลังจะเย็นลง มีเพื่อนหลายคนกำลังต้องการบำรุง'
เขาพานักข่าวไปที่ไถซัน หาร้านอาหารที่ต้องการ พ่อครัวเกานำพาเราทั้งหมดเข้าห้องครัว เพื่อชมการปรุงน้ำแกง เห็นเด็กทารกนั้น ซึ่งโตกว่าแมวไม่มากเท่าไหร่นัก โดนวางอยู่บนเขียง 'แค่ห้าเดือนกว่า เล็กไปหน่อย' พ่อครัวเกาพูดอย่างเสียใจ
พ่อครัวเกาบอกว่า เด็กทารกหญิงนี้เขาได้มาจากเพื่อนที่บ้านนอก เขาไม่ยอมบอกว่าจ่ายไปราคาเท่าไหร่เพื่อซื้อเด็กทารกนี้มา เพียงแค่บอกว่า ราคานั้นขึ้นอยู่กับว่าเด็กทารกนั้นโตเท่าไหร่ ตัวเป็นหรือตัวตาย
พ่อค้าหวังบอกว่า กินหม้อนึงราคา 3,500 เหรียญ อย่างอื่นเขาไม่สนทั้งสิ้น
1นักข่าวนั่งฟังพวกเขาคุยกัน สำหรับเด็กในครรภ์ตัวตายที่แท้งเองหรือทำแท้ง คนกลางก็จะห่อเงินให้หมอตำแยหลายร้อยเหรียญ หากว่าเป็นเด็กเป็นที่เกือบจะครบเดือน ก็ต้องให้ประมาณสองพันเหรียญให้กับพ่อแม่เด็ก ถือว่ารับเค้ามาเลี้ยง สำหรับเด็กทารกที่ส่งมาถึงร้านอาหาร ก็ตายแล้วทั้งนั้น ก่อนหน้านั้นจะเป็นหรือจะตาย ก็ไม่ได้สนใจแล้ว
น้ำแกงหม้อนี้ นักข่าวไม่กล้าชิมเลย ผ่านการชมในครัวมา ไม่อาจทานอะไรได้เลยเป็นพักใหญ่ แกล้งทำเป็นไม่สบายขอต?วกลับไป
ที่กินนั้นเป็นเด็กทารกผู้หญิง นี่เป็นผลของนโยบาย 'ลูกชายคนเดียว' หรือเพราะคนจีนชอบบำรุง ก็คงต้องรอให้ฟ้าดินเป็นผู้ตัดสิน... 

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ละครยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance : คริสตศตวรรษที่ 15-17)-นีโอคลาสสิค (Neo-Classic : คริสตศตวรรษที่ 17)

ภูมิหลังทั่วไป

อารยธรรมตะวันตกผ่านช่วงยุคมืด ระหว่าง คริสตศตวรรษที่ 5 ถึง คริสตศตวรรษที่ 15 หลังจากที่อาณาจักรโรมันล่มสลายไปเพราะอนารยชนเข้ารุกราน ในช่วงยุคมืดหรือยุคกลาง มีเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้น คือ
1. การก่อกำเนิดของระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบบฟิวดัล (Feudalism) - เป็นการปกครอง ระหว่างขุนนางเจ้าของที่ดิน และ ชาวไร่ชาวนาผู้เช่าที่ดินโดยตรง ทั้งนี้ กษัตริย์ มีอำนาจปกครองขุนนางทั้งหลาย แต่จะไม่ก้าวก่ายการปกครองในเขตที่ดินของขุนนางโดยตรง
2. พระ มีสิทธิในการเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนศาสนา มีอำนาจในการวางนโยบายเศรษฐกิจเช่น เรื่องดอกเบี้ย การค้ากำไร (ผ่านการตีความคำสอนในศาสนา)และเป็นเจ้าของที่ดิน ได้ จึงมีอำนาจและความมั่งคั่งมาก อารามในศาสนจักร เป็นแหล่งที่ให้การศึกษาแก่ชนชั้นสูง ดังนั้น คริสตจักร โดยรวม จึงมีอำนาจเหนือกว่าสถาบันกษัตริย์มาก

อย่างไรก็ตาม ระบอบต่าง ๆ ของยุคกลาง ล่มสลายไป ก้าวสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เนื่องจาก
1. เกิดกาฬโรคระบาด (The Black Death)ใน คริสตศตวรรษที่ 14 ทำให้แรงงานหายาก ทาสติดที่ดินจึงมีโอกาสต่อรองขออิสรภาพจากเจ้านาย แลกกับการใช้แรงงาน ทำให้เกิดมีเสรีชนมากยิ่งขึ้น
2. สงครามครูเสด (Crusade Wars) ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 11-13 (8ครั้ง ตั้งแต่ ค.ศ. 1096-1270) ระหว่างชาวคริสต์และพวกเติร์กชาวมุสลิม เพื่อแย่งดินแดนซีเรียและปา-เลสไตน์ ทำให้อัศวินเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก กษัตริย์จึงมีอำนาจมากขึ้นแทนที่ขุนนาง โดยการสนับสนุนของพ่อค้าและชนชั้นกลางที่ต้องการความสะดวกในการค้าขาย ที่เคยมีอุปสรรคเพราะอิทธิพลและอภิสิทธิ์ของขุนนาง นอกจากนี้ สงครามครูเสด ยังทำให้เมืองท่าในยุโรป เช่น เวนิส เจนัว และฟลอเรนซ์ขึ้นมามีอำนาจและความมั่งคั่งทางการค้าแทนกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ในตุรกีปัจจุบัน) และจึงกลายเป็นศูนย์กลางของศิลปและวัฒนธรรมต่อไปด้วย สงครามครูเสด ยังทำให้ชาวยุโรปพัฒนาความรู้ด้านการเดินเรือทางทะเล เพราะชาวมุสลิม มีชัยเหนือเอเชียไมเนอร์ ทำให้ชาวยุโรปเดินทางทางบกผ่านไปยังเอเชียไม่ได้


ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เริ่มต้นประมาณคริสตศตวรรษที่ 15 และสิ้นสุดลงประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 (รวมราว 300 ปี) คำว่า Renaissance เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “การเกิดใหม่” หมายถึง การรื้อฟื้นอารยธรรมคลาสสิคของกรีกและโรมันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ยุคนี้ เปลี่ยนแปลงจากยุคกลาง ที่มุ่งเน้นการสอนให้คนยอมรับชะตากรรมตามที่เป็น สู่ ยุคสมัยที่ยกย่องเห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์ ในลักษณะที่เน้นมนุษยนิยม (humanism) มากยิ่งขึ้น กล่าวคือ มีความเชื่อในความก้าวหน้าและความสร้างสรรค์ของปัจเจกบุคคล ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการค้า เป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เพราะมีการติดต่อค้าขายกับกรีก รวมทั้งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโรมันโบราณ ความรู้ในยุคนี้ แพร่หลายได้มากขึ้น เพราะมีความเจริญของการพิมพ์ประกอบกัน โดยมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1448 ที่เยอรมนี ทำให้หนังสือราคาถูกลง ในส่วนของวรรณกรรมและปรัชญา จึงมีนักคิดและนักเขียนเกิดขึ้นหลายคน ตัวอย่างเฉพาะในด้านการละคร ในประเทศอังกฤษ เช่น วิลเลียม เช็คสเปียร์ และ คริสโตเฟอร์ มาร์โลว์

วิทยาการในด้านการพิมพ์ ทำให้มีการพิมพ์พระคริสตธรรมคัมภีร์กันอย่างแพร่หลาย จนชาวบ้านธรรมดาที่สิทธิครอบครองและศึกษาได้ และในที่สุด มีการแปลจากภาษากรีกโบราณ ออกมาเป็นภาษาพื้นถิ่น เช่น ภาษาเยอรมัน ในที่สุด จึงนำสู่การปฏิรูปศาสนาเป็นนิกายโปรเตสแตนท์แยกจากนิกายโรมันคาธอลิคที่ปกครองโดยพระสันตปาปา ซึ่งเป็นที่เสื่อมศรัทธาลง กษัตริย์หลายประเทศ เริ่มแยกตัวออกจากอำนาจของพระสันตปาปา

ในส่วนของสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และ จิตรกรรม ศิลปิน ได้ศึกษางานจากยุคกรีกและโรมันโบราณ มาประยุกต์สร้างสรรค์งาน ศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี, ไมเคิล แอนเจโล, และ ราฟาเอล

วิทยาการในยุคนี้ ก้าวหน้ามากขึ้น จากการศึกษาความรู้ต่าง ๆ ของ กรีกและโรมันโบราณ แล้วนำมาคิดค้นพัฒนาต่อด้วยวิทยาศาสตร์แห่งการทดลองและเหตุผล (ตามปรัชญาแนวคิด ของ เบคอน และ เดส์การ์ต) จนทำให้โลกตะวันตกก้าวสู่ยุคแห่งความสว่าง (Age of Enlightenment) ในคริสตศตวรรษที่ 18 และเป็นผู้นำของโลกในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบัน

การละคร
การละครในยุคกลาง มีละครเกี่ยวกับศาสนาเป็นหลัก คือ 1. Mystery Play – ประวัติชีวิตพระเยซู โดยกลุ่มอาชีพที่มีศาสตร์เป็น mystery (ความลับ) 2. Miracle Play – ปาฏิหาริย์นักบุญ และ 3. Morality Play - สอนศีลธรรม (เรื่องราวของตัวเอกชื่อ Everyman หรือ Mankind) ส่วนละครสุข-นาฏกรรมจะมีเพียงรูปแบบที่เรียกว่า jongleurs ซึ่งพัฒนามาจาก mime ของยุคโรมัน โดยจะมี stock characters ที่มีลักษณะท่าทางเฉพาะตัวและมีชื่อเรียก ต่อมา ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีการศึกษารูปแบบและบทละครของกรีกและโรมันโบราณ และนำมาประยุกต์เป็นรูปแบบการละครในยุคนี้

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการในอิตาลี
มีการพยายามนำเอาลักษณะของละครโศกนาฏกรรมของ Seneca มาแต่งเป็นบทละครโศก-นาฏกรรม กล่าวคือ เต็มไปด้วยความรุนแรง และความพยาบาท แต่ไม่ได้รับความนิยม ต่อมา มีผู้ศึกษาพบว่า ละครกรีกมีการขับร้อง จึงประยุกต์รูปแบบนี้มา ใช้ ใน ปี ค.ศ. 1574 ที่เวนิส กลายเป็นละครแบบที่เป็นต้นแบบของ Opera ที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคริสตศตวรรษที่ 17

ในส่วนของสุขนาฏกรรม มีการประยุกต์เรื่องราวในบทละครของกรีกและโรมันโบราณมาใช้ บทละครสุขนาฏกรรมของอิตาลีหลายเรื่อง เป็นต้นแบบของโครงเรื่องของบทละครของเช็คสเปียร์ในประเทศอังกฤษต่อมา อย่างไรก็ตาม ละครสุขนาฏกรรมลักษณะนี้ ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรในอิตาลี เพราะเขียนขึ้นเพื่อแสดงในหมู่คนชั้นสูงเท่านั้น แต่ละครสุขนาฏกรรมรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากกว่า กลับเป็นละครรูปแบบที่เรียกว่า commedia dell’ arte ซึ่งพัฒนาต่อมาจาก jongleurs ในยุคกลาง โดยเริ่มแพร่หลายในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 และส่งอิทธิพลต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรปด้วยในเวลาต่อมา commedia dell’ arte เป็นลักษณะละครสุขนาฏกรรมที่มีตัวละครเป็นแบบ stock หรือ type characters (คือมีลักษณะทางร่างกายและชุดเฉพาะตัว เช่น Puccinella = ชายหลังค่อม จมูกงุ้ม มีรอยย่นที่เหนือคิ้ว และใส่หน้ากากสีเข้ม) และมีการเล่นสด (improvisation) จากบทบรรยายแต่ละฉากที่เขียนไว้เพียงสั้น ๆ เท่านั้น ความนิยมใน commedia dell’ arte มีส่วนทำให้ไม่มีการสร้างสรรค์บทละครที่ยิ่งใหญ่เท่าที่ควรในยุคฟื้นฟู ฯ ในอิตาลี

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการในประเทศอังกฤษ (คริสตศตวรรษที่ 16-ต้น 17)
ละครในยุคนี้ เติบโตที่สุดในประเทศอังกฤษ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 โดยเป็นการละครที่ได้รับอิทธิพลจากนักเขียนบทละครโรมัน เช่น Seneca กล่าวคือ ลักษณะการมี 5 องก์ และ แก่นเรื่องความพยาบาทและการแก้แค้น รวมทั้งการปรากฏตัวของวิญญาณ และ Plautus ในแง่ของโครงเรื่องสุขนาฏกรรม เช่น การผิดฝาผิดตัวของฝาแฝด

คริสโตเฟอร์ มาร์โลว์ (Chirstopher Marlowe : ค.ศ. 1564-1593) เขียนโศกนาฏกรรม เช่น The Tragical History of Doctor Fautus จากตำนานของเยอรมัน เป็นเรื่องของชายชื่อ เฟาสตัส ที่ขายวิญญาณให้พญามารและกับอำนาจเหนือมนุษย์เป็นเวลา 24 ปี
วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare : ค.ศ. 1564-1616) มีผลงานบทละครหลายประเภทรวม 37 เรื่องในเวลาเพียง 25 ปี
เบน จอนสัน (Ben Jonson : ค.ศ. 1572-1637) นักเขียนบทละครสุขนาฏกรรม ในลักษณะ “comedy of humours” หรือ ละครตลกแบบสมจริง สร้างมุขตลกจากพฤติกรรมของมนุษย์

ละครของอังกฤษ จะใช้เฉพาะผู้ชายในการแสดง

ยุคนีโอคลาสสิกในประเทศฝรั่งเศส (คริสตศตวรรษที่ 17)
ความมั่นคงและความมั่นคงของฝรั่งเศสในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทำให้การละครของฝรั่งเศสในยุคนี้ เฟื่องฟูตามไปด้วย การละครในยุคนี้ มีการควบคุมกฎเกณฑ์โดยบัณฑิตยสถานแห่งฝรั่งเศส (Academie Francaise)

ละครในยุคนี้ นำเอาหลักเอกภาพ (unity) ที่อริสโตเติล นักปรัชญากรีกเขียนไว้ใน Poetics มาตีความใช้เป็นกฎเกณฑ์กำหนดไว้ โดยละครที่ดี จะต้องมีเอกภาพ 3 ด้านดังนี้
1. เอกภาพในด้าน เวลา (time) (เหตุการณ์ต้องเกิดและจบภายใน 24 ชั่วโมง)
2. เอกภาพในด้านสถานที่ (place) (ใช้สถานที่เดียว โดยคำนึงว่าระยะทางที่เกิดขึ้นในเรื่องต้องเป็นไปได้ในเวลาอันจำกัดดังกล่าว)
3. เอกภาพในด้านการกระทำ (action) โดยที่โครงเรื่อง (plot) จะเน้นเพียงสิ่งเดียว

นอกจากนี้ ยังมีการมุ่งเน้นความบริสุทธิ์ของประเภทของละคร (purity of genres) กล่าวคือ
จะไม่มีการปะปนกัน ระหว่าง ลักษณะโศกนาฏกรรมและสุขนาฏกรรม ในบทละคร ทั้งนี้ ละครยังต้องมีจุดมุ่งหมายที่ดีงาม กล่าวคือ เพื่อให้แง่คิดเชิงศีลธรรมอีกด้วย ละครของฝรั่งเศส จะมีการใช้ผู้แสดงเป็นชายจริงและหญิงแท้

นักเขียนบทละครที่สำคัญในยุคนี้ สำหรับโศกนาฏกรรม ได้แก่ Pierre Corneille เช่น เรื่อง Le Cid และ Jean Racine เช่น เรื่อง Phedre (หรือ Phaedra) และสำหรับสุขนาฏกรรม ได้แก่ Moliere เช่น เรื่อง Misanthrope และ L’Avare (The Miser) ที่ได้รับอิทธิพลจากเรื่อง The Pot of Gold ของ Plautus ในยุคโรมันโบราณ

ลักษณะโรงละคร ในอังกฤษ

โรงละครในอังกฤษเป็นโรงละครกลางแจ้ง ไม่มีหลังคา และจัดแสดงละครในช่วงบ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ เวทีจะยื่นเข้าไปในสนามหญ้า โดยมีหน้ากว้างประมาณ 43 ฟุต ยาว 27 ½ ฟุต ผู้ดูสามารถยืนล้อมเวทีได้ 3 ด้าน ส่วนยืนใกล้เวทีจะมีราคาถูกที่สุด ด้านหลังและข้าง ๆ ของเวทีจะมี ที่นั่งทำเป็นระเบียงยาว (galleries) ล้อมเป็นรูปเกือกม้าอยู่ มี 3 ชั้น (ดัดแปลงมาจากรูปแบบของโรงสู้หมี) เป็นที่นั่งของผู้ดูที่มีราคาแพงขึ้น ส่วนที่ราคาแพงที่สุด คือ Lord’s Room ซึ่งอยู่ด้านหลังเวทีพอดี เป็นที่ ๆ สามารถดูละครได้ใกล้ชิด และ สามารถให้คนอื่นเห็นผู้ดูที่นั่งอยู่ตรงนั้นได้ชัดเจนด้วยในเวลาเดียวกัน
เวทีจะมีม่านกั้นตรงด้านหลัง และจะมีการวาดภาพฉากบนม่าน ซึ่งสามารถดึงเปลี่ยนได้ ในส่วนของการตกแต่งฉาก จะมีไม่มาก เช่น มีการใช้โต๊ะและเก้าอี้ แทน บ้าน การใช้บัลลังก์ แทน วัง หรือ การใช้ต้นไม้ปลอม 2-3 ต้น แทน ป่า เป็นต้น

การเปลี่ยนฉาก จะแสดงให้เห็นด้วยการ เข้า-ออก ของ ตัวละคร ละครไม่มีการปิดม่าน จึงดำเนินต่อเรื่องไปเรื่อย ๆ โดยใช้บทเป็นตัวช่วย
เวทีจะมีช่องที่เปิดลงไปใต้เวทีได้ เรียกว่า trap ส่วนใต้เวทีจะเป็นส่วนที่เรียกว่า นรก (hell) เป็นส่วนที่ให้ปีศาจหรือวิญญาณออกมาและหายตัวไป ส่วนเหนือเวทีตรงเพดานข้างบน จะเรียกว่า สวรรค์ (heaven) ซึ่งมีรอกที่ใช้ชักเทวดาลงมาได้ และวาดเป็นรูปท้องฟ้าและจักรราศี (ได้รับอิทธิพลเวทีละครศาสนาในยุคกลาง)

ส่วนรอบเวทีนั้น จะมีการแขวนระบายผ้า เพื่อปิดโครงไม้ใต้เวที โดยจะเปลี่ยนสีและลายไปตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น สีดำ สำหรับละครโศกนาฏกรรม สีขาว แดง หรือ เขียว สำหรับ ละครอิงประวัติศาสตร์ ละครสุขนาฏกรรม และ ละครเกี่ยวกับชีวิตในชนบท
ในส่วนของ เสียงประกอบการแสดง จะมีการทำเสียงประกอบด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ เช่น ใช้การเคาะกระทะทำเป็นเสียงฟ้าร้อง หรือ การใช้เสียงระฆังช่วยบอกเวลา ในส่วนของการใช้เทคนิคประกอบการแสดง มีการจุดดอกไม้ไฟ ทำเป็นฟ้าผ่า

ในฝรั่งเศสและอิตาลี
โรงละครได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบอาคาร ของ โรงละครโรมัน แต่เป็นการใช้ฉากวาดแทนการสร้างอาคารจริง ส่วนต่าง ๆ ของเวทีละคร มีดังนี้
1. borders – เป็นม่านเหนือเวที เพื่อความสวยงาม และ ซ่อนไฟได้
2. proscenium arch – กรอบแบ่งระหว่างเวทีด้านหน้าที่เป็นส่วนแสดง กับฉากด้านหลัง
3. apron (forestage) – การแสดงจะเล่นตั้งแต่ปีกคู่หน้าสุด ถึง apron
4. wings – ปีก จัดวางไว้ข้างเวทีเป็นคู่ ๆ ทำจากผ้าขึงบนกรอบไม้ วาดภาพ (เช่นอาคาร) ที่จะนำสายตาไปสู่ฉากหลัง (back drop) พื้นของเวทีระหว่างปีกจะลาดขึ้นสู่ ฉากหลังเพื่อนำสายตา และไม่ได้ใช้สำหรับเล่น
5. back drop – ฉากหลัง เป็นภาพวาดฉากที่สามารถเปลี่ยนได้โดยใช้ล้อเลื่อนจากใต้เวที การวาดฉาก จะวาดจากจุดที่มีมุมมองที่ดีที่สุดในโรงละคร คือ ที่ที่กษัตริย์จะประทับ (ตรงกลาง) ทั้งนี้ นักแสดงมีฉากเป็นเพียง background เท่านั้น ได้ไม่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดง (environment) นักแสดงจะไม่เล่นกับฉาก แต่จะเล่นกับคนดู อาจมีบทเพียงแค่อ้างถึงฉากว่า “ตรงนั้น บ้านของข้า” เท่านั้น
        คำว่า บาโร้ค ( Baroque ) เป็นคำภาษาฝรั่งเศส มีที่มาจากภาษาอิตาเลี่ยน คำว่า บะร็อคโค่
   ( Barocco ) 
ซึ่งมีความหมายว่า “ความหรูหราอลังการ หรือฟุ่มเฟือยเกินกว่าความจำเป็น”
   
เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะในช่วงปี ค.ศ.1860 ใช้เรียกช่วงระยะเวลาของรูปแบบศิลปะยุโรป
   ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 เพื่อการแบ่งแยกช่วงระยะเวลาในทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ในช่วงระยะ  
    เวลาที่อยู่ระหว่างยุคเรอแนสซองส์ ( Renaissance ) และยุคสมัยใหม่ (Modern) โดยการใช้คำเรียก
    บาโร้ค นั้น แต่แรกจะจำกัดเฉพาะการเรียกงานศิลปะ ประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม และ  
   สถาปัตยกรรม เท่านั้น ซึ่งในเวลาต่อมาในทางสถาปัตยกรรม ก็ยังมีการแบ่งแยกออกเป็นศิลปะในยุค
   บาโร้ค และศิลปะในยุค ร็อคโคโค่ (Roccoco) เพื่อจำแนกความแตกต่างในรายละเอียดเกี่ยวกับการ  
   ตกแต่งในทางสถาปัตยกรรมในฝรั่งเศสยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ออกจากกัน

อย่างไรก็ดี มีข้อควรสังเกตว่า คำว่า “ยุคบาโร้ค” ( The Baroque Era ) นั้น เป็นคำเรียกในทางประวัติศาสตร์ศิลปะ (The History of Arts) เท่านั้น แต่จะไม่ใช้เรียกในทางประวัติศาสตร์สากล (The Political History) ซึ่งคำว่า “ประวัติศาสตร์และอารยธรรมยุโรปในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17-18” ดูจะเป็นคำที่เป็นทางการมากกว่า




   ศิลปะในยุคบาโร้คนั้น แรกเริ่มถือกำเนิดขึ้นในประเทศอิตาลี ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 แล้วต่อมาค่อยแพร่หลายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส และมีพัฒนาการจนประเทศฝรั่งเศสกลายเป็นศูนย์กลางของศิลปะในยุคบาโร้ค ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางของศิลปะวัฒนธรรมของยุโรปทั้งปวง จนถือได้ว่าศิลปะในยุคบาโร้ค เป็นเอกลักษณ์ของฝรั่งเศส จนถือเป็นแบบฉบับที่มีอิทธิพลแพร่หลายไปสู่ประเทศอื่น ๆ จนเรียกกันทั่วไปว่า French Baroque Arts


   โดยเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคบาโร้ค คือ การแต่งเติมลวดลายต่าง ๆ นานาให้แลดูวิจิตรอลังการ โดยลวดลายที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ ลายใบไม้ ดอกไม้ ช่อดอกไม้ เส้นสายที่ใช้ ส่วนมากจะใช้เส้นโค้งที่อ่อนช้อย แต่จะใช้การจัดวางให้มีลักษณะสมมาตร มีการใช้ลวดลายประดับประดาจนดูหนา และรกเกินความจำเป็น สีที่ใช้ประดับตกแต่ง มักจะเป็น สีทอง เพื่อตัดกับสีอื่น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง โอ่อ่า หรูหรา ขนาดของสิ่งก่อสร้าง ก็มักจะออกแบบให้มีลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ให้มีขนาดกว้างขวาง เพดานสูงโปร่ง และประดับลวดลายปูนปั้นวิจิตรบรรจง ประดับด้วยศิลปวัตถุที่ล้ำค่า เช่น ภาพวาดสีน้ำมันประดับกรอบสีทอง เครื่องกระเบื้องเคลือบประดับด้วยทองคำ หรือเครื่องแก้วเจียระไนประดับด้วยทองคำ เป็นต้น ตัวอย่างของสถาปัตยศิลป์ในสมัยบาโร้ค ที่สมบูรณ์แบบและสำคัญ ได้แก่ การตกแต่งภายในมหาวิหารนักบุญเปโตร นครวาติกัน ฝีมือของ แบร์นินี่ ( Bernini ) และการออกแบบตกแต่งพระราชวังแวร์ซายส์ของมองซาร์ท ( Mansart ) และ เลอ โว ( Le Vau)

 Le Galerie des Glaces ; Le Chateau de Versailles


   ส่วนศิลปะด้านอื่น ๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม เริ่มหลุดพ้นจากการครอบงำทางความคิดจากศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิรูปศาสนาในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 16 ทำให้ผู้คนหลุดพ้นจากกรอบความคิด และแนวความคิดทางศาสนา หันมาสนใจเรื่องนอกศาสนามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จาก ความนิยมในการนำเอา เทวปกรณัมกรีก-โรมัน ซึ่งเคยถือว่าเป็นเรื่องนอกรีต ( Heretic ) มาศึกษาและนำมาใช้เป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในยุคบาโร้คกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งศิลปะบาโร้คในรูปแบบทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ก็เป็นไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงความหรูหรามั่งคั่งทางวัตถุ และเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมในยุคสมัยนั้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่มีช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นมากที่สุด

 Francois Boucher's "The Kidnapping of Europa"


   ส่วนการนำคำว่า บาโร้ค มาใช้ในทางการดนตรีนั้น ผู้ที่นำคำว่า บาโร้ค มาใช้เป็นคำเรียกชื่อยุคหนึ่งในทางประวัติศาสตร์ดนตรี เป็นคนแรก คือ คุต ซาชส์ ( Curt Sachs ) ศาสตราจารย์ทางการดนตรีชาวเยอรมันในยุคต้นคริสตศตวรรษที่ 20 โดยในปี ค.ศ.1919 เขาได้ใช้คำว่า บาโร้ค ในตำราประวัติศาสตร์ดนตรีที่เขาประพันธ์ขึ้น เพื่อเป็นการระบุถึงยุคของดนตรียุคหนึ่ง ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17-18 หรือ โดยเฉพาะเจาะจง คือ ในช่วง ปี ค.ศ.1600 – 1750 เพื่อประโยชน์ในการแบ่งแยกช่วงว่างของเวลา ระหว่างดนตรีในยุคก่อนหน้า (คือยุคเรอแนสซองส์ ) และดนตรีในยุคต่อมา (คือยุคคลาสสิค) จนในเวลาต่อมา ราว ค.ศ.1960 คำว่า ดนตรีในยุคบาโร้ค ( Baroque Music ) จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ว่า หมายถึง ยุคสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์การดนตรี ที่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นดนตรีสากลที่มีเอกลักษณ์ซึ่งเป็นที่นิยมในยุโรป ในช่วงประมาณ ค.ศ.1600 – 1750 โดยทั้งนี้ก็มีความสอดคล้องกันกับพัฒนาการทางศิลปะแขนงอื่น ๆ ในช่วงยุคเดียวกัน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ดนตรีในยุคบาโร้คนั้น เปี่ยมไปด้วยความหรูหรา โออ่า สง่างาม อลังการ และวิจิตรบรรจงในรายละเอียดมาก อันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากดนตรีในยุคอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด


                1. ยุคกลาง (Middle Ages)
                       ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.. 450-1400) อาจเรียกว่า ยุคเมดิอีวัล  (Medieval Period) ดนตรีในยุคนี้
                        vocal  polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน    ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็น
                       เพลงแบบมีทำนองเดียว  (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ 
                       ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4  เพลงร้องพบได้ทั่วไป    และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี  
                       รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี


2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period)
     เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว .. 1450-1600) การสอดประสาน(Polyphony)
ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนว ทำนองเดียวกัน (Imitative style)
ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบ โหมด (Modes) ยังไม่นิยมแบบ บันไดเสียง (Scales)  การประสานเสียง
เกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน  มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของคอร์ด ลักษณะของจังหวะ
มีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะ  และไม่มีอัตราจังหวะ  ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย   ยังมีน้อย
ไม่ค่อยพบลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกัน ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี  เริ่มมี
การผสมวงเล็กๆ เกิดขึ้น  นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน-เดอส์  เพรซ์  ปาเลสตรินา  และเบิร์ด

3. ยุคบาโรค (Baroque Period)  
      เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว .. 1600-1750) การสอดประสาน   เป็นลักษณะ
ที่พบได้เสมอในปลายยุค    ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะ การใส่เสียงประสาน (Homophony)  เริ่มนิยม
การใช้เสียงเมเจอร์   และไมเนอร์   แทนการใช้โหมดต่างๆ  การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ  
มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter)  อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลง  การใช้ลักษณะของเสียง
เกี่ยวกับความดังค่อย   เป็นลักษณะของความดัง-ค่อย   มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ
ดังขึ้นหรือค่อยๆลง  (Crescendo, diminuendo)  ไม่มีลักษณะของความ ดังค่อยอย่างมาก
(Fortissimo,pianisso)  บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น   บทเพลงร้องยังคงมี
อยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน   นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น
(Concerto grosso)   นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี  คอเรลลี วิวัลดี  บาค ฮันเดล

4. ยุคคลาสสิค (Classical period)
      เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก   อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18  และช่วงต้น
ศตวรรษที่ 19 (.. 1750-1825)การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้ การสอดประสาน
พบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสานการใช้บันไดเสียงเมเจอร์   และไมเนอร์    เป็นหลัก
ในการประพันธ์เพลง  ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผน  บริสุทธิ์  มีการใช้ลักษณะของเสียง
เกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน ไม่มี
การแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด   การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น  
การบรรเลงโดยใช้วงและ การเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว ( Concerto)  เป็นลักษณะที่
นิยมในยุคนี้   บทเพลลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับ เพลงเดี่ยว (Sonata)  
ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมาก  บทเพลงร้องมี
ลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้น  เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี    นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้
คือ กลุค  ไฮเดิน  โมทซาร์ท  และเบโธเฟน

5. ยุคโรแมนติด(Romantic period)
       เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว .. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้
 คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก   ฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมี
หลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียด   โดยการพัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก  หลักการใช้
บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์   ยังเป็นสิ่งสำคัญ  แต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้น
หลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง   
การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้    บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้น   เนื่องจาก
มีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรี   มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดง
ออกทางอารมณ์   ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมาก    วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุค
คลาสสิค  บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไปเพลงซศิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิก   ยังคงเป็นรูปแบบ
ที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆ เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น   นักดนตรีที่ควรรู้จักใน
ยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก  เช่น  เบโธเฟน  ชูเบิร์ต  โชแปง  ลิสซท์  เมนเดลซอน  เบร์ลิโอส  ชูมานน์  
แวร์ดี   บราหมส์   ไชคอฟสี  ริมสกี-คอร์สคอฟ  รัคมานินอฟ  ปุกซินี  วากเนอร์  กรีก   ริชาร์ด  สเตราห์ 
มาห์เลอร์และซิเบลุส  เป็นต้น

6.ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค  (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
     เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง .. 1890 – 1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ   ใช้บันไดเสียง
แบบเสียงเต็ม  ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับ   คลุมเครือไม่กระจ่างชัด  เนื่องมาจากการประสานเสียง
โดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม   บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ   เสียงไม่หนักแน่น  ดังเช่น  
เพลงในยุคโรแมนติก     การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์    ในยุคก่อนๆ สามารถพบการ
ประสานเสียงแปลกๆไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม รูปแบบของเลงเป็นรูปแบบ
ง่าย  มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด  นักดนตรีที่ควรรู้จัก   คือ  เดอบูสซี   ราเวล  และเดลิอุส

7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period)
ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ  และนำเอาหลักการเก่าๆ
มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน   เช่น  หลักการ
เคาเตอร์พอยต์   (Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน   มีการใช้
ประสานเสียงโดย     การใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลัก
ในการแต่งทำนองหรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง(Twelve-tone scale)
ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา    ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ 
การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance)  วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบ
เชมเบอร์มิวสิก    ไม่นิยมวงออร์เคสตรา   มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์    ทำให้เกิดเสียงดนตรี
ซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป    เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น  ในขณะ
ที่แนวคิดแบบโรแมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน   เรียกว่า  นีโอโรแมนติก (Neo-Romantic)
กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20  นี้มีหลากหลายมาก    สามารถพบสิ่ง
ต่างๆตั้งแต่ยุค ต่างๆมาที่ผ่านมา    แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป   นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้
คือ สตราวินสกี   โชนเบิร์ก   บาร์ตอก   เบอร์ก   ไอฟส์   คอปแลนด์  ชอสตาโกวิช   โปโกเฟียฟ 
ฮินเดมิธ  เคจ  เป็นต้น