วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556
10 อันดับ อุบัติเหตุทางอากาศ ที่ร้ายแรงที่สุดในโลก !
10. อุบัติเหตุ McDonnell Douglas DC-8-61 ไฟไหม้
วันที่ : 11 กรกฎาคม 1991
สายการบิน : Nigeria Airways
เที่ยวบิน : 2120
เครื่องบิน : McDonnell Douglas DC-8-61
สถานที่เกิดเหตุ : กรุงเจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เกิดไฟไหม้ลามเข้าไปใน Hydraulic Line หลังจากออกบินไม่นาน ทำให้เครื่องเสียการควบคุมระดับความสูง
จำนวนผู้เสียชีวิต : 261 คน จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 คน
9. อุบัติเหตุ Airbus A300B4-622R ร่อนลงผิดพลาด
วันที่ : 26 เมษายน 1994
สายการบิน : China Airlines
เที่ยวบิน : CI140
เครื่องบิน : Airbus A300B4-622R
สถานที่เกิดเหตุ : เมืองนาโกยา จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น
สาเหตุของอุบัติเหตุ : ลูกเรือบังคับเครื่องผิดพลาดขณะกำลังร่อนลง เครื่องเสียระดับและหยุดกลางคัน
จำนวนผู้เสียชีวิต : 264 คน จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 7 คน
8. อุบัติเหตุ Airbus A300-600 ตกใส่ย่านที่พักอาศัย
วันที่ : 12 พฤษภาคม 2001
สายการบิน : American Airlines
เที่ยวบิน : AA587
เครื่องบิน : Airbus A300-600
สถานที่เกิดเหตุ : Belle Harbor กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
สาเหตุของอุบัติเหตุ : Vertical Stabilizer หลุดออกจากตัวเครื่อง (ความผิดพลาดของนักบินในการตอบสนองต่อ Turbulence) ทำให้เครื่องบินตกใส่ผู้คนและที่พักอาศัย
จำนวนผู้เสียชีวิต : 265 คน (รวมผู้เสียชีวิตบนพื้นดิน 5 คน) จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 1 คน
7. อุบัติเหตุ McDonnell Douglas DC-10 เครื่องยนต์ชำรุด
วันที่ : 25 พฤษภาคม 1979
สายการบิน : American Airlines
เที่ยวบิน : AA191
เครื่องบิน : McDonnell Douglas DC-10
สถานที่เกิดเหตุ : ท่าอากาศยาน O'Hare เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เครื่องยนต์หลุดออกจากปีกขณะบินขึ้น (ความผิดพลาดจากฝ่ายซ่อมบำรุง) เครื่องเสียหลักและตกใส่ชุมชนบ้านรถพ่วง
จำนวนผู้เสียชีวิต : 273 คน (รวม 2 คนบนพื้นดิน) จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 2 คน
6. อุบัติเหตุ Airbus A300B2-203 ถูกยิงโดยเรือรบ USS
วันที่ : 3 กรกฎาคม 1988
สายการบิน : Iran Air
เที่ยวบิน : 655
เครื่องบิน : Airbus A300B2-203
สถานที่เกิดเหตุ : อ่าวเปอร์เซียร์
สาเหตุของอุบัติเหตุ : IR655 เป็นเที่ยวบินพลเรือนของอิหร่านแอร์ กำลังมุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถูกยิงตกด้วย missile ของเรือลาดตระเวน USS Vincennes (CG-49) ในอ่าวเปอร์เซีย ทางการสหรัฐแถลงว่า เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบเตือนภัย AEGIS ที่ระบุ เครื่องบินพาณิชย์ที่กำลังไต่ระดับขึ้นผิดพลาด เป็น เครื่องบิน เอฟ-14 ทอมแคท ของอิหร่าน กำลังลดระดับลงเพื่อเตรียมโจมตี เจ้าหน้าทื่จึงได้ส่งสัญญาณวิทยุเตือนนักบินของอิหร่านแอร์ ด้วยความถี่ฉุกเฉินทางทหารจำนวน 7 ครั้ง ความถี่ฉุกเฉินพลเรือนจำนวน 3 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ (เนื่องจากนักบินเข้าใจว่า คำเตือนนั้นหมายถึงเครื่องบินลาดตระเวน พี-3 ของอิหร่าน ที่บินอยู่ในบริเวณนั้นเป็นประจำ)
จำนวนผู้เสียชีวิต : 290 จำนวนผู้เสียชีวิต : 290 คน จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 คน
5. อุบัติเหตุ Lockheed L1011-200 Tristar เกิดไฟไหม้ขณะกำลังบินขึ้น
วันที่ : 19 สิงหาคม 1980
สายการบิน : Saudi Arabian Airlines
เที่ยวบิน : SV163
เครื่องบิน : Lockheed L1011-200 Tristar
สถานที่เกิดเหตุ : ท่าอากาศยานนานาชาติ King Khalid กรุงริยาดห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เกิดไฟไหม้ขณะกำลังบินขึ้น หลังจากลงจอดฉุกเฉินแล้วประตูเครื่องขัดข้องไม่สามารถเปิดได้ คนบนเครื่องเสียชีวิตเพราะถูกรมควันและถูกไฟคลอก ลูกเรือขาดการฝึกเรื่องอพยพผู้โดยสารหนีจากไฟไหม้ และความผิดพลาดของนักบิน
จำนวนผู้เสียชีวิต : 301 คน จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 คน
4. อุบัติเหตุ McDonnell Douglas DC-10-10 เสียการทรงตัว
วันที่ : 3 มีนาคม 1974
สายการบิน : Turkish Airlines
เที่ยวบิน : TK981
เครื่องบิน : McDonnell Douglas DC-10-10
สถานที่เกิดเหตุ : เมืองแอมเมอนงวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส
สาเหตุของอุบัติเหตุ : ประตูห้องสัมภาระเปิดออกขณะบิน ทำให้ความดันอากาศในห้องโดยสารลดลง และเสียการทรงตัว (ความผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเครื่องบิน)
จำนวนผู้เสียชีวิต : 346 คน จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 คน
3. อุบัติเหตุ Boeing 747-100 (Saudi) / Ilyushin II-76 (Kazakhstan) ชนกันกลางอากาศ
วันที่ : 12 พฤศจิกายน 1996
สายการบิน : Saudi Arabian Airlines / Air Kazakhstan
เที่ยวบิน : SV763 / 9Y1907
เครื่องบิน : Boeing 747-100 (Saudi) / Ilyushin II-76 (Kazakhstan)
สถานที่เกิดเหตุ : เมือง Charkhi Dahdri ประเทศอินเดีย
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เครื่องบินชนกันกลางอากาศ,ความผิดพลาดของนักบิน (Air Kazakhstan),การสื่อสารแย่,ทัศนวิสัยไม่ดี,ระบบเรด้าของสนามบินที่ล้าสมัย และเครื่องบินทั้ง 2 ลำไม่มีระบบ TCAS (ระบบป้องกันการชนกันกลางอากาศ)
จำนวนผู้เสียชีวิต : 312 / 37 คน (รวม 349 คน) จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 / 0 คน
2. อุบัติเหตุ Boeing 747-SR46 เสียการควบคุม
วันที่ : 12 สิงหาคม 1985
สายการบิน : Japan Airlines
เที่ยวบิน : JL123
เครื่องบิน : Boeing 747-SR46
สถานที่เกิดเหตุ : ภูเขาโอสุทากะ จังหวัดกุนมะ ประเทศญี่ปุ่น
สาเหตุของอุบัติเหตุ : Vertical stabilizer หลุดออกจากตัวเครื่อง (เหตุจากความผิดพลาดในการซ่อมบำรุง) และเสียการควบคุม
จำนวนผู้เสียชีวิต : 520 คน จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 4 คน
หลังจากเครื่องหายไปจากจอเรด้าร์ ทหารอเมริกาได้แจ้งไปยัง บริษัท เจแปนแอร์ไลน์ และส่งเครื่องบิน C130 ออกค้นหาทันที จนกระทั่ง 20 นาทีหลังจากเกิดเหตุ เครื่องบิน C130 ของอเมริกาได้พบจุดที่เกิดเหตุเป็นเจ้าแรก และทางฐานทัพอเมริกาประจำที่ Yokota ติดต่อยื่นมือช่วยเหลือ โดยจะส่งเฮลิคอปเตอร์อันทันสมัยเข้าไปหย่อนทีมกู้ภัย แต่ทางเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นปฎิเสธ ไม่ให้เข้ายุ่งเกี่ยวเด็ดขาด
ทว่าการค้นหาของทางญี่ปุ่นเองก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากจุดเกิดเหตุเป็นบริเวณป่าเขารกทึบ และเป็นเวลาใกล้ค่ำ ทัศนวิสัยไม่ดี ไม่สามารถใช้ ฮ.ได้ ซึ่งกว่าทีมกู้ภัยจะเข้าไปถึงที่เกิดเหตุก็ใช้เวลาหลายชั่วโมง
งานนี้คนจำนวนมากไม่พอใจที่ทีมช่วยเหลือญี่ปุ่นที่มาช้า แถมไม่รับการช่วยเหลือจากทหารอเมริกาอีก เพราะถ้ามาเร็วเคลมเร็ว จำนวนผู้เสียชีวิตคงไม่มากมายขนาดนี้ ด้วยไฟที่ลามคลอกตัวกับการเสียเลือดมาก และอากาศที่หนาวเย็น ทำให้คนที่บาดเจ็บสาหัสทนพิษบาดแผลไม่ไหวจนเสียชีวิตจำนวนมาก
1. อุบัติเหตุ Boeing 747-121 (Pan Am) / Boeing 747-206B (KLM) ประสานงากันบนรันเวย์
วันที่ : 27 มีนาคม 1977
สายการบิน : KLM Royal Dutch Airlines / Pan American World Airlines
เที่ยวบิน : KL4805 / PA1736
เครื่องบิน : Boeing 747-121 (Pan Am) / Boeing 747-206B (KLM)
สถานที่เกิดเหตุ : ท่าอากาศยาน Los Rodeos บนเกาะ Tenerife ในหมู่เกาะคานารี ประเทศสเปน
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เครื่องบินชนประสานงากันบนรันเวย์ขณะทำการบินขึ้น,ความผิดพลาดของนัก บิน(KLM),ความผิดพลาดของหอบังคับการบินในเรื่องความกำกวมของภาษา
จำนวนผู้เสียชีวิต : 248 / 335 คน (รวม 583 คน) จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 / 61 คน (คนบนเครื่อง Pan Am)
โดยจุดเริ่มต้นของอุบัติเหตุครั้งนี่เกิดจากการขู่จะมีก่อวินาศกรรมที่สนาม บิน Las Pamas ทำให้เที่ยวบินทุกเที่ยวบินที่จะไปลงที่นั่นถูกย้ายให้ไปลงที่ Tenerife แทน ตอนนั้นเรื่องการตรงต่อเวลาของสายการบินค่อนข้างเคร่งครัดมาก ทำให้นักบินของ KLM เกิดความเครียด บวกกับสภาพอากาศที่แย่ลง ทำให้นักบิน KLM กังวลว่า จะไปไม่ทันเวลา เพราะช่วงนั้นถ้าไปไม่ทันเวลานักบินจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำการบินทันที และหลังจากนั้นนักบินก็นำเครื่องขึ้นโดยที่หอยังไม่ได้อนุญาตให้ขึ้น ซึ่งต่อมาก็ไปชนกับเครื่องของ Pan Am ที่อยู่บนรันเวย์
ความเข้าใจผิดในการสื่อสาร คือ Co-pilote ของ KLM บอกหอบังคับว่า We're at take off ซึ่งหมายถึง กำลังจะ take off และทางหอบังคับตอบว่า OK ซึ่งทางหอบังคับเข้าใจว่า KLM อยู่ใน take off position เพื่อรอคำสั่งต่อไป แต่ KLM เข้าใจว่า OK คือ เป็น take off clearance แล้ว จึงขึ้นบินทันที
ตอนชนกันนั้น KLM พยายามขึ้นบินแล้ว ขณะที่ Pan Am ที่อยู่บนพื้นก็พยายามหักหลบแต่ไม่พ้น ผลทำให้ KLM ระเบิดเละ คนเสียชีวิตยกลำ แต่ Pan AM หลังคาส่วนบนเปิดแล้วเกิดไฟไหม้ จึงทำให้มีคนรอดชีวิตจำนวนหนึ่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น