วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5 ภาษา ที่อ่านยากที่สุดในโลก


1.ภาษาจอร์เจีย

ภาษาจอร์เจีย หรือ ภาษาคาร์ตเวเลียน (จอร์เจียKartuliอังกฤษGeorgian, Kartvelian) เป็นภาษาทางการของประเทศจอร์เจีย ซึ่งเป็นสาธารณรัฐในเทือกเขาคอเคซัส เป็นภาษาหลักของประชากรประมาณ 4,000,000 คนในประเทศจอร์เจียเอง (คิดเป็น 83% ของประชากร) และอีก 3.4 ล้านคนในประเทศอื่น ๆ (ส่วนใหญ่ใน ตุรกีรัสเซียสหรัฐอเมริกายุโรป และชุมชนขนาดเล็กในอิหร่านและอาเซอร์ไบจาน) เป็นภาษาทางวรรณกรรมสำหรับ กลุ่มชนชาติทางมานุษยวิทยาของชาวจอร์เจียทั้งหมด โดยเฉพาะคนที่พูดภาษาคอเคซัสใต้ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ชาวสวาน (Svan), ชาวเมเกรเลียน (Megrelian), และลาซ (Laz)

2.ภาษาสิงหล

ภาษาสิงหล (สิงหลසිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกัยภาษาดิเวฮิของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน
เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี
รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใจ

3.ภาษาทมิฬ

ภาษาทมิฬ (ทมิฬதமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี

4.ภาษาไทย

5.ภาษาอาร์เมเนีย

ภาษาอาร์เมเนียเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ที่พูดในเทือกเขาคอเคซัส (โดยเฉพาะในประเทศอาร์เมเนีย) และใช้โดยชุมชนชาวอาร์เมเนียในต่างประเทศ เป็นแขนงย่อยของตัวเองในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยที่ไม่มีภาษาที่ใกล้เคียงที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบัน มีหลายคนเชื่อว่าภาษาอาร์เมเนียเป็นภาษาที่สัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษาฟรีเจียน (Phrygian) ที่สูญพันธุ์ จากภาษาที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ภาษากรีกน่าจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงทีสุดกับภาษาอาร์เมเนีย ภาษาอาร์เมเนียมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น