วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


ความหมายเบต้าแคโรทีน

            เบต้าแคโรทีน เป็นชื่อเรียกทางเคมีของสารชนิดหนึ่ง ที่ถูกค้นพบในพืช หลายชนิด และพบมากในพืชที่มีสีเหลือง และ สีส้ม เช่น หัวแครอท หัวผักกาดแดง มะเขือเทศ ฯลฯ โดยพบว่า เบต้าแคโรทีนก็คือส่วนประกอบที่เป็นวัตถุเม็ดสีเหลือง และ ส้ม ที่ปรากฏให้เห็นในพืช ผัก เหล่านั้นนั่นเอง

          โครงสร้างทางเคมีที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งเมื่อเรารับประทานเข้าไปในร่างกาย ตับ ( Liver )
จะทำหน้าที่เปลี่ยนโมเลกุลของเบต้าแคโรทีน ดังกล่าวให้กลายเป็น วิตามิน เอ ( Vitamin A ) และสำหรับเบต้าแคโรทีน 1โมเลกุล จะสามารถให้ วิตามิน เอ โมเลกุล
            เบต้าแคโรทีน และแคโรทีนอยด์จากธรรมชาติ แคโรทีนอยด์เป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่มีอยู่ในผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นส่วนที่มีสีส้มของผักผลไม้นั้น แคโรทีนอยด์มีหลายชนิด เช่น อัลฟาแคโรทีน  ลูทิอิน ซีแซนทิน แต่ที่รู้จักกันดีคือ เบต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์แต่ละชนิดต่างก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันและทำงานสนับสนุนกัน ดังนั้นนอกจากเราจะต้องรับประทานผัก ผลไม้ ในปริมาณที่สูงแล้ว ยังต้องให้ได้หลากหลายชนิด เพื่อให้ได้แคโรทีนอยด์ครบทุกชนิด
            เบต้าแคโรทีน คือสารตั้งต้นของวิตามินเอ(ซึ่งช่วยบำรุงสายตาและเป็นวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย)เบต้าแคโรทีนจัดเป็นสารต้านออกซิเดชันและพบว่าสามารถลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมีมากในผักและผลไม้ที่มีสีส้มและเหลืองในปัจจุบันมีการนำเบต้าแคโรทีนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดโดยจะผสมวิตามินและเกลือแร่ชนิดอื่นหลายชนิดผสมเข้าไปด้วยเพื่อหวังผลในการบำรุงร่างกาย 

            เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene)แคโรทีนอยด์เป็นสารสีที่พบในพืช มีหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีที่เข้มเพื่อที่จะสามารถแบ่งแยกผลิตภัณฑ์ในร้านขายของชำหรือตลาด สารสีที่พบในพืชมีมากกว่า 600 สี แต่คุณอาจจะคุ้นเคยกับแคโรทีนอยด์ที่รู้จักกันในนามของ เบต้าแคโรทีน พบมากในผักที่มีสีส้ม อย่างเช่น แครอท มะเขือเทศหวาน และฟักทอง เหมือนอย่างที่พบในผักสีเขียวเข้มผักและผลไม้จำพวกนี้จะมากไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายจะนำไปเปลี่ยนให้เป็นวิตามินเอ ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากวิตามินเอ ทางด้วยกัน รับโดยตรงจากวิตามินเอที่อยู่ในอาหาร หรือจากการเปลี่ยนโมเลกุลของเบต้าแคโรทีนให้กลายเป็นวิตามินเอ
          
 แคโรทีนอยด์ก็เหมือนกับเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidants) คือสารจากธรรมชาติที่สามารถต่อต้านภาวะการทำลายของ
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยต่อต้านมะเร็งและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
             
สารตั้งต้นของวิตามินเอ ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระและปกป้องเนื้อเยื่อเซลล์จากอนุมูลอิสระไลพิดเพอร์ออกไซด์ (Lipid Peroxidation) พบมากในผักใบเขียว แครอท มันฝรั่งหวาน แคนตาลูป เนื้อสัตว์ เนย และเนยแข็ง และถูกดูดซึมสู่ร่างกายได้ดีเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมัน
            เบต้าแคโรทีน เปลี่ยนแปลงเป็นวิตามินเอในร่างกาย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เบต้าแคโรทีน มีมากใน ผัก และผลไม้สีเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง 
             เบต้าแคโรทีน มีมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้มจัด ผักใบเขียวจัด เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท มะละกอ มะม่วงสุก มะเขือเทศ    สาหร่ายเกลียวทองมีโปรตีน เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 12 และธาตุเหล็กสูง แต่มีคลอโรฟิลล์ วิตามินอี สังกะสี ในปริมาณเพียงเล็กน้อย 
http://nutrition.anamai.moph.go.th/1675/old1675/html/menu13/m1306.html
            เบต้าแคโรทีน (Betacarotene) คือสารที่ให้สีส้ม เหลือง หรือแดง ในพืชผักผลไม้ เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ มะม่วงสุก แตงโม แคนตาลูป มะละกอและผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น บรอคโคลี มะระ ต้นหอม ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น


ผักผลไม้ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สูง
             ผลไม้ที่มีสีเขียวและสีเหลือง จะช่วยป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และมะเร็งปอดได้ ส่วนเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปใช้สร้างวิตามินเอนั้น จะช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ สาเหตุของโรคมะเร็ง สารชนิดนี้มีมากในพืชผักสีแดง เหลือง ส้ม หรือเขียวเข้ม เบต้าแคโรทีน มีอยู่มากในผักจำพวกผักใบเขียว และผลไม้ ที่มีสีเหลือง ส้ม หรือแดงส้ม เช่น ผักบุ้ง ตำลึง แครอท ฟักทอง มะลอกอสุก แอ๊ปเปิ้ล ซึ่งผักผลไม้เหล่านี้ยังให้กากใย มีผลดีต่อการกำจัดพิษที่คั่งค้างในร่างกายได้ด้วย

ประโยชน์ของเบต้าแคโรทีน( Usefulness of Beta-carotene )

            จากที่หลายท่านได้รู้จักพิษร้ายของสารชนิดหนึ่งที่เราเรียกกันว่า อนุมูลอิสระ (Free Radicals)
 ที่มีอยู่อย่างมากมายในร่างกายของเรา และมีทั้งชนิดที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นเอง ได้แก่ สารของเสียจากขบวนการสันดาป ( Metabolism ) ต่างๆ ในตับ และอวัยวะต่างๆและชนิดที่ร่างกายได้รับจากภายนอก เช่น ก๊าซอ๊อกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป และเหลือเกินความจำเป็น สารจากมลภาวะ โลหะหนัก สีผสมอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเราก็ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว สารอนุมูลอิสระเหล่านี้ พบว่านอกจากจะทำให้เกิด ความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่ ความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ ไปจนกระทั่งถึงความเสื่อมของอวัยวะสำคัญภายใน อย่างเช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้ว เรายังพบว่า สารอนุมูลอิสระ เหล่านี้ ยังสามารถส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาในการกระตุ้น ให้เซลล์ปกติของเราเจริญเติบโตอย่างผิดปกติได้ หรือที่เราเรียกว่า เซลล์มะเร็งเนื้อร้าย ( Cancers ) นั่นเอง

            เบต้าแคโรทีน ( Beta-carotene ) เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ถูกค้นพบว่ามีคุณสมบัติในการทำลายอนุมูลอิสระ ได้อย่างดีเลิศ โดยพบว่าเบต้าแคโรทีน จะทำปฏิกิริยาต้านการเกิดอ๊อกซิเดชั่นระหว่างอนุมูลอิสระกับสารสำคัญในเซลล์ที่มีชีวิต โดยแย่งทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระเสียก่อน แล้วขับถ่ายออกไปตามระบบขับถ่ายต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ของเราก็รอดชีวิตจากขบวนการในการทำลาย โดยอนุมูลอิสระดังกล่าว เราเรียกขบวนการในการแย่งทำปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีน กับอนุมูลอิสระว่า การต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น หรือเอนตี้อ๊อกซิแด้น ( Antioxidants ) นั่นเอง

 

 

ผู้ที่ควรรับประทานเบต้าแคโรทีน ( Who should take Beta-carotene? )

1. ผู้ที่ต้องการดูแลผิวพรรณ ( Healthy skin concious )
           
เราพบว่าผิวพรรณของเราจะเป็นส่วนของร่างกายที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราทราบว่าอนุมูลอิสระมีผลต่อเราแล้วหรือยังผิวพรรณที่เริ่มเหี่ยวย่น ไม่ผ่องใส ขาดความชุ่มชื่น หรือไม่มีน้ำมีนวล สิ่งเหล่านี้บอกได้แล้วว่าความเสื่อมได้เริ่มมาเยือนท่านแล้ว และถ้าปล่อยปละละเลยต่อไป ก็จะทำให้ยากต่อการเยียวยารักษา และอาจจะแสดงผลต่อเนื่องกับอวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ เส้นผม และ เล็บ ตามมาด้วยเช่นกันในกลุ่มสตรีที่นิยมรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พวกกรดไขมันจำเป็น กลุ่มโอเมก้า หรือ โอเมก้า อยู่เป็นประจำ เป็นระยะเวลานานๆ นั้น เราพบว่าอาจส่งผลให้เกิดขบวนการย่อยสลาย กรดไขมันในปริมาณสูง และพบว่าขบวนการดังกล่าว อาจส่งผลต่อเนื่องในเรื่องของกระแก่ จากปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นของเซลล์ แต่พบว่าหากรับประทานสารต้านการเกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นร่วมกัน ผลต่อเนื่องดังกล่าวก็จะไม่ปรากฏขึ้น นอกจากนี้ เรายังพบว่าเบต้าแคโรทีน ยังส่งผลให้เซลล์ผิวพรรณที่สร้างขึ้นใหม่มีสุขภาพดีขึ้นด้วย

 2. ผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง ( Cancer concious )
            
อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า อนุมูลอิสระมีผลเกี่ยวข้องกับมะเร็งเนื้อร้าย ( Cancers ) การลดปริมาณอนุมูลอิสระ ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของมะเร็งนั่นเอง
นอกจากนี้เรายังพบว่า เบต้าแคโรทีน สามารถให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกาย ที่ชื่อ ทีเฮลเปอร์เซลล์ ( T-helper Cell ) ให้มีประสิทธิภาพการทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น จึงให้ผลดีกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งดังกล่าว

3. ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพของดวงตา ( Healthy Eye Concious )
             
อย่างที่ทราบแล้วว่า เบต้าแคโรทีน เมื่อโดนย่อยสลายที่ตับแล้ว จะได้วิตามิน เอ ซึ่ง>ร่างกายนำไปใช้สร้างสารโรดอฟซิน ( Rhodopsin ) ในดวงตา ส่วนเรตินา ( Retina ) ทำให้เรามีความสามารถในการมองเห็นในตอนกลางคืนได้ และนอกจากนั้น เบต้าแคโรทีน ยังลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา     ( Eye ) และลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก( Cataracts ) ด้วย
           
4. ผู้ที่ต้องการชลอความแก่ ( Anti-aging )
             
เบต้าแคโรทีน จะให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์ จากอนุมุลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดขบวนการแก่ ดังนั้นหากเราลดสาเหตุดังกล่าวเสีย ความแก่ก็จะมาเยี่ยมเยือนเราได้ช้าลง
การรับประทานเบต้าแคโรทีนั้น หากต้องการรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ ป้องกันความเสื่อม โดยทั่วไปสามารถทานได้ วันละ 4,000-5,000 IUs ( International Unit ) หากต้องการรับประทานเพื่อการรักษาภาวะความเสื่อมที่เป็นอยู่ สามารถทานได้ถึง 10,000-20,000 IUs ต่อวัน โดยให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
               สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายจากเบตาแคโรทีน ขณะนี้ยังไม่พบ แม้จากการวิจัยพบว่าวิตามินเออาจเป็นพิษได้ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 25,000 หน่วยสากล(IU) ต่อวัน แต่ไม่พบว่าเบต้าแคโรทีนมีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานในปริมาณสูง ส่วนการมีปฏิกิริยากับสารอื่นไม่พบรายงานว่ามีปฏิกิริยาของเบต้าแคโรทีนกับยาสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ 

   สุขภาพร่างกายของผู้คนในปัจจุบัน กำลังย่ำแย่ลงทุกขณะ ถึงเวลาที่ทุกคน ควรจะหันมาดูแลเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ คือ การรับประทานอาหารที่ให้
ประโยชน์ แก่ร่างกายอย่างสมดุล เป็นประจำสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีการค้นพบอีกหนึ่งคุณค่าของสารอาหารธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ "เบต้าแคโรทีน" (Beta Carotene)
           
    แหล่งของเบต้าแคโรทีน จะพบได้ในผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือ แดง เพราะเบต้าแคโรทีน คือ ตัวการทำให้พืชผัก และผลไม้มีสีสรรดังกล่าว เช่น แครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป มะละกอสุก และผักที่มีสีเขียว เช่น บรอคโคลี มะระ ผักบุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง เป็นต้น (เหตุที่มีสีเขียวเพราะสีของเบต้าแคโรทีนถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบังเมื่อเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกเปลี่ยนให้เป็น วิตามินเอ โดยเอมไซม์ในลำไส้ ในปริมาณที่ร่างกายต้องการ ซึ่งปกติเบต้าแคโรทีน หน่วย จะสามารถเปลี่ยน ให้เป็นวิตามินเอได้ หน่วย เบต้าแคโรทีนนั้น มีประโยชน์ต่อร่างกาย และผิวพรรณ อย่างมาก คือ ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ช่วยป้องกันผิวที่อาจเกิดจากอันตรายของ รังสีอัลตราไวโอเลต ที่มากับแสงแดดได้ จึงทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย แลดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของ เซลล์เยื่อบุตาขาว กระจกตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย
    
    นอกจากประโยชน์มากมายที่กล่าวมาแล้ว เบต้าแคโรทีนยังเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ซึ่งคอยกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ก่อนที่มันจะไปทำปฏิกิริยา ทำลายส่วนประกอบต่าง ๆ จนทำให้เซลล์นั้นมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งในช่องปาก กล่องเสียง ตับ หรือกระเพาะอาหาร โรคเส้นเลือด หัวใจอุดตัน และโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ เป็นต้น   ความจริงแล้ว ในแต่ละวันเรามักได้รับเบต้าแคโรทีนจากอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเบต้าแคโรทีนจะถูกทำลายได้โดยง่าย จากความร้อนในการประกอบอาหารอีก ทั้งร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมเบต้าแคโรทีนไว้ได้เพียงร้อยละ 25-27 เท่านั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสามารถป้องกันการเกิดของโรคมะเร็งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น