วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

การดูแลรักษาตนเองเมื่อเกิดอาการไอ

อาการไอ คือ ร่างกายกำลังพยายามทำให้ปอดและทางเดินหายใจโล่ง โดยอาจไอแบบแห้งๆ
(ไม่มีเสมหะ)หรือไอมีเสมหะ การไอเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย บ้างก็อาจเกิดจากภูมิแพ้
หรือสิ่งระคายเคืองเฉพาะบุหรี่ อาการไออาจเป็นผลโดยตรงต่อปอดหรือน้ำมูกไหลลงหลอดลมกำลัง

เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอาการไอ ผิวเยื่อบุทางเดินหายใจจะมีลักษณะคล้ายขนเรียกว่า Ciliaซึ่งทำหน้าที่โบกพัดไปมาคล้ายไม้กวาดขนาดจิ๋ว ที่กวาดเอามูก เชื้อโรค และฝุ่น ไม่ให้เข้าไปในปอดและหลอดลม สำหรับคนสูบบุหรี่จะมีการทำงานของ ciliaเสียไป ซึ่งจะไม่สามารถโบกพัดได้เช่นเดิม ทั้งนี้การติดเชื้อ การมีปฏิกิริยาภูมิแพ้ และอากาศแห้งๆ ก็อาจมีผลต่อการทำงานของ ciliaได้ จึงทำให้เกิดการสะสมของสิ่งคัดหลั่งขึ้น แล้วร่างกายจะมีปฏิกิริยา ป้องกันตนเองเพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง โดยการไอออกมาอย่างแรง ซึ่งอาจมีความเร็วลมได้ถึง 160 กม. /ชม.


                                                      



วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

 ครู หมายถึง  ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ 
   
วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู 

          ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 คำปฏิญาณตนของครู

          ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู

          ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

          ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

          จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม

          "ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม"

รายชื่อประเทศที่มี วันครู

ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด

          - อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
          - มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
          - ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน

ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด

          - แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
          - จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
          - สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
          - ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
          - โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
          - รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
          - สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
          - สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
          - ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
          - ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
          - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
          - เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน 
         

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

คำขวัญวันเด็ก ปี 2556

รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

7วันอันตรายวันที่สี่ยอดตาย-อุบัติเหตุลดกว่าปี55



วันนี้ (31 ธ.ค. 2555) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556  รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุ วันที่ 30 ธันวาคม 2555 (วันที่สี่ของการรณรงค์) จำนวนครั้งเกิดอุบัติเหตุ 505 ครั้ง    เปรียบเทียบกับวันที่สี่ของการรณรงค์ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 เกิด 562 ครั้ง ลดลง 57 ครั้ง (คิดเป็น 10.14%จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (28 ครั้ง) รองลงมา ได้แก่ บุรีรัมย์ (21 ครั้ง) และเพชรบูรณ์ (19 ครั้ง)ผู้เสียชีวิต 54 ราย เปรียบเทียบกับวันที่สี่ของการรณรงค์ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 เกิด 77 ราย ลดลง 23 ราย (คิดเป็น 29.87%)   จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (5 ราย) รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ (4 ราย) และขอนแก่น สุรินทร์ (3ราย)ผู้บาดเจ็บ (กรณี Admin) 536 คน    เปรียบเทียบกับวันที่สี่ของการรณรงค์ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 เกิด 600 คน ลดลง 64 คน (คิดเป็น 10.67%)     
สำหรับจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (27 คน) รองลงมา ได้แก่ บุรีรัมย์ (21 คน) และสุรินทร์ (20 คน)จำนวนผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางถนน จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ รวม 3,798 คน    เปรียบเทียบกับวันที่สี่ของการรณรงค์ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 จำนวน 4,828 คน ลดลง 1,030 คน (คิดเป็น 21.33%)สถิติสะสม (27 – 30 ธันวาคม 2555) รวม 4 วัน จำนวนครั้งเกิดอุบัติเหตุสะสม 1,827 ครั้ง เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (2,167 ครั้ง) ลดลง 340 ครั้ง (15.69%)  
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (89 ครั้ง) รองลงมา ได้แก่ เชียงราย (59 ครั้ง) และนครสวรรค์ (54 ครั้ง)จำนวนผู้เสียชีวิตสะสม (27 – 30 ธันวาคม 2555) 202 ราย เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (242 ราย) ลดลง 40 ราย (16.53%)    จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครปฐม (11 ราย) รองลงมา ได้แก่ เชียงใหม่ (10 ราย) และเพชรบูรณ์ (8 ราย)    
จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 15 จังหวัด แยกรายภาค ดังนี้
ภาคเหนือ รวม 3 จังหวัด ได้แก่ น่าน อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 4 จังหวัด ได้แก่ นครพนม บึงกาฬ ศรีสะเกษ และหนองคาย
ภาคกลาง รวม 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด นครนายก สระบุรี และอ่างทอง
ภาคใต้ รวม 4 จังหวัด ได้แก่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูลจังหวัดผู้บาดเจ็บสะสม (27 – 30 ธันวาคม 2555) 1,898 คน เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (2,382 คน) ลดลง 484 คน (20.32%)
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ (91 คน) รองลงมา ได้แก่ เชียงราย (59 คน) และนครสวรรค์ (58 คน)
 
จังหวัดที่ไม่มีสถิติอุบัติเหตุตลอด 4 วัน ได้แก่ ตราดจำนวนผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางถนน จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สะสม (27 – 30 ธันวาคม 2555) รวม 13,861 คน เปรียบเทียบช่วงเดียวกันของการรณรงค์ปี 2555 จำนวน 17,907 คน ลดลง 4,046 คน (คิดเป็น 22.59%)
ประวัติความเป็นมา 

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย 
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน 
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย 

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ 
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ 
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย 

                                วันขึ้นปีใหม่