เตือนผู้ที่ชอบใส่ชุดชั้นในรัด ๆ ในขณะที่ต้องนั่งหรือยืนทำงานนาน ๆระวังเป็นโรคหลอดเลือดดำขอดที่บริเวณขาเตือนผู้ที่ชอบใส่ชุดชั้นในรัด ๆ ในขณะที่ต้องนั่งหรือยืนทำงานนาน ๆ
ระวังเป็นโรคหลอดเลือดดำขอดที่บริเวณขา และเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนังแนะผ่อนคลายอิริยาบถและออกกำลังกาย
นางนิตยา มหาผล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้โรคหลอดเลือดขอดที่ขาเป็นปัญหาที่พบบ่อย ซึ่งการโป่งพองของหลอดเลือดดำที่ขามักเกิดจากการมีลิ้นปิดกั้นในหลอดเลือดดำ ทำให้เลือดดำไม่ไหลย้อนขึ้นไปที่หัวใจและปอดเมื่อปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่แก้ไขจะนำไปสู่การเกิดแผลเรื้อรังหรือโรคผิวหนังเรื้อรังตะคริวที่ขา และมะเร็งผิวหนังในที่สุด โดยในสังคมตะวันตกพบเป็นโรคนี้ร้อยละ 25 นางนิตยา กล่าวอีกว่า กลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดดำขอดที่ขา ได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพต้องยืนทำงานนาน ๆ หรือนั่งทำงานบนเก้าอี้นาน ๆ เช่น หนุ่มสาวที่ทำงานตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ หรือผู้ที่ทำงานบนสายพานการผลิตในโรงงานต่าง ๆยิ่งผู้ที่ชอบใส่กางเกงในรัด ๆ ด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นหลอดเลือดที่ขาขอดมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออยู่ในข่ายอ้วน
การตั้งครรภ์ก็เป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดหลอดเลือดดำที่ขาขอดได้เช่นกัน “จึงขอแนะนำให้เจ้าของผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ หรือ
โรงงานประเภทที่ให้ พนักงานยืนทำงานเป็นเวลานานๆ
พิจารณาเวลาให้พนักงานได้นั่งสลับกันบ้างให้เปลี่ยนอิริยาบท
หรือส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเวลาและโอกาส
เป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพ และสุขภาพจิตให้พนักงานและ
ป้องกันโรคหลอดเลือดที่ขาขอด
ผลของการออกกำลังกายจะสร้างเสริมสุขภาพจิตของพนักงานให้แจ่มใส
ซึ่งจะเอื้อต่อคุณภาพบริการต้อนรับลูกค้าอีกด้วย” นางนิตยา กล่าว ด้าน น.พ.ชูชัย ศรชำนิ ศัลยแพทย์โรงพยาบาลฉะเชิงเทรา กล่าวว่า
ที่จังหวัดฉะเชิงเทรามีโรงงานจำนวนมากตั้งอยู่
จากการตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งพนักงานชายและพนักงานหญิงพบว่า
มีปัญหาหลอดเลือดขอดที่ขาได้บ่อยขึ้น โดยมีผู้ที่ต้องยืนหรือนั่งทำงานติดต่อกันเป็นกะ ๆ
จึงสนใจศึกษาปัญหาสาเหตุที่แท้จริง นับเป็นการศึกษาครั้งแรกในประเทศไทย
โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2542 ในกลุ่มพนักงานโรงงาน 2 แห่ง
คือสถานประกอบการด้านการผลิตคอมเพรสเซอร์
สำหรับเครื่องปรับอากาศพนักงาน 927 คน ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นชาย
และสถานที่ผลิตสายไฟในรถยนต์มีพนักงาน 639 คน กว่าร้อยละ 80 เป็นหญิง น.พ.ชูชัย กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่าทั้งพนักงานชายและหญิงมีเส้นเลือดดำขอดที่ขา
โดยผู้ใช้แรงงานหญิงร้อยละ 24 มีเส้นเลือดฝอยโป่งที่ใต้ผิวหนังชั้นตื้น
ซึ่งแม้จะไม่มีอาการปวด หรือเกิดตะคริว
แต่ผู้หญิงจะมีความกังวลเรื่องความสวยงามของปลีน่อง และต้นขา
โดยการเกิดอาการเหล่านี้พบว่าเกี่ยวข้องกับการทำงานน้อยหรือยืนทำงานนาน
รวมทั้งการตั้งครรภ์การกินยาคุมกำเนิด
ส่วนผู้ใช้แรงงานชายจะพบหลอดเลือดขอดในผิวหนังชั้นลึกมากถึงร้อยละ 32
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะการทำงานประกอบอาชีพ อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ
เจ้าของสถานประกอบการควรให้และนำไปปรับวิธีการปฏิบัติ
เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพดี สามารถเพิ่มให้มีกำลังการผลิตดีขึ้น
เนื่องจากพนักงานไม่ต้องลางาน เพื่อรักษาเส้นเลือดขอดที่ขา |